ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1.ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         ระบบเครือข่ายระยะใกล้หรือท้องถิ่น (Location Area Network :MAN)
          เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ใช้งานทางด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงสื่อสาร ส่งข้อมูล ติดต่อใช้งานร่วมกันได้ การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์จะอยู่ในบริเวณแคบ โดยทั่วไปจะมีระยะการไม่เกิน
10 กิโลเมตร เช่น ภายในอาคารสำนักงาน ภายในคลังสินค้า โรงงานหรือ ระหว่างตึกใกล้ๆ เชื่อมโยงด้วยสายสื่อสารจึงทำให้มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก
และความผิดพลาดต่ำ
          ระบบเครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)
          เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายท้องถิ่นหลายๆ ระบบเข้าด้วยกันในพื้นที่เดียวกัน เช่นภายในเมืองเดียวกัน เกิดเป็นเครือข่ายของเมืองนั้น ระบบเครือข่ายนี้จะใช้สื่อเชื่อมโยงทั้งชนิดใช้สายสัญญาณและชนิดไม่ใช้สายสัญญาณผสมเข้าด้วยกัน ตามลักษณะพื้นที่ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ในระยะทางไม่เกิน 60 กิโลเมตร
          ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network :WAN)
         เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็น Packet ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง Packet นี้ส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ในการเชื่อมต่อกัน ในลักษณะเป็นลูกโซ่ อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวกรูปแบบของเครือข่ายแตกต่างกันไปตามลักษณะอัลกอริทึมสำหรับการคำนวณเส้นทางในการส่ง Packet โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ แบบดาตาแกรม (Datagram) และแบบเวอร์ชวล เซอร์กิต (Virtual Circuit) หรือวงจรแบบเสมือน ระบบดาตา-
แกรมพิจารณาแต่ละ Packet แยกจากกัน Packet ต่างๆ ของข้อความเดียวกันอาจถูกส่งไปในเส้นทางที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับ ปริมาณข่าวสารในเครือข่าย ในแต่ละขณะเวลาที่ผ่านไป และ
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครือข่ายเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์บางตัวเสีย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้มีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ คือ
อินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต
            ระบบอินทราเน็ต (Intranet )
             เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร หรือหน่วยงานของตนเอง ซึ่งเป็นการภายในต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลออกสู่ภายนอก หรือเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน อีกทั้ง ยังไม่ต้องการให้ บุคคลภายนอกมาร่วมใช้ หากไม่ได้รับการอนุญาต เช่นระบบเงินเดือน ข้อมูลการวิจัย และพัฒนาสินค้า ระบบบัญชี หรือ ข้อมูลความลับ ของหน่วยงาน เป็นต้น ทั้งนี้ในทุกรูปแบบของการใช้งาน ก็สามารถทำได้ เช่นเดียวกันในเครือข่ายInternet ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการสื่อสาร โดยผ่านสื่อโทรคมนาคม ที่มีอยู่ภายในองค์กร เช่น ระบบโทรศัพท์ภายใน หรือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในองค์กร (Local Area Network) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวจัดการ ทั้งหมด ให้ง่ายต่อการใช้งาน อาจใช้เครื่อง server ที่กำหนดการใช้งานเฉพาะอย่าง หรืออาจะมีลักษณะเดียวกันกับอินเทอร์เน็ต sever ก็ได้
  
          ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
            เป็นระบบเครือข่าย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก และไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดในการสื่อสาร เช่น รูปแบบข้อมูล(information) เสียง (sound) ภาพ(picture) ภาพยนต์(video) ภาพสด(live video) การประชุมทางไกลชนิดเห็นภาพและเสียงของผู้ร่วมประชุม (video conference) รูปgraphicsต่างๆ หรือแม้กระทั่งภาพ animation และภาพสามมิติ(3-Dimension) จากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ได้อย่างกว้างขวาง โดยผ่าน สื่อโทรคมนาคมที่มีอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ หรือ เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) เป็นต้น ทั้งนี้ได้อาศัยเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทันสมัยเป็นตัวจัดการดังกล่าวทั้งหมดให้ง่ายต่อการใช้งาน




2.อุปกรเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   1. เครื่องคอมพิวเตอร์

                    หน้าที่สำคัญที่สุดของระบบเครือข่ายก็คือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดเดียวกันเช่น ในระบบเครือข่ายของเราอาจทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และเครื่องเมนเฟรม ก็ได้


                                                             
                                                                   



               2. ทรัพยากรระบบ ( Resource )

                   ทรัพยากรของระบบเครือข่ายคืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายสามารถเรียกใช้ได้ ทรัพยากรในระบบที่มีอยู่โดยทั่วไปคือ เครื่องพิมพ์ ทำให้ผู้ใช้ระบบเครือข่ายทุกคนสามารถส่งเอกสารออกพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ส่วนกลางนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องต่อเครื่องพิมพ์สำหรับทุกเครื่องในเครือข่าย ทรัพยากรอื่นๆได้แก่ เครื่องโทรสาร อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง เช่น เทปไดร์ฟ และฮาร์ดไดร์ฟ ฯลฯ


                                                                         
                                                                         




               3. สายเคเบิลสื่อสาร ( Cable )
                   สายเคเบิลสื่อสารใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และทรัพยากรระบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย ข้อมูลหรือสัญญาณที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ต้นทางจะถูกส่งผ่านสายสื่อสารนี้ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง สายสื่อสารมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว ( Twisted Pair ) สายโคแอกเชียล (Coaxial) และสายใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic ) เป็นต้น เราจะใช้สายชนิดใดขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะทางที่เราต้องการส่งข้อมูล


                                     





           4. ตัวเชื่อมระบบ ( Connector )
               ตัวเชื่อมระบบเป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสองระบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ในระบบทั้งสองสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันหรือใช้ทรัพยากรของอีกระบบได้ ตัวเชื่อมระบบที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ บริดจ์ ( Bridge ) และอุปกรณ์จัดเก็บเราเตอร์ ( Router )


                           

                                                                                                                

                 5. การ์ดเชื่อมเข้าเครือข่าย ( NIC : Network Interface Card )
                     คือ การ์ดซึ่งเป็นอุปกรณ์เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้ากับสายสื่อสาร และเป็นตัวควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย โดยอุปกรณ์ตัวนี้จะมีช่องสำหรับต่อกับสายสื่อสารเพื่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายต่อไป
                                                                       
                                                                          



3.ความหมายพัฒนาของอินเทอร์เน็ต


4.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

        
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
      

              อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่าน
จุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง  ดังรูป

 
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต 


อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อ
การสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น


สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทาง
อีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น


ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย


ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
จึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

การทำงานของอินเทอร์เน็ต
        

               การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
4.การโอนย้ายข้อมูล

การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย
               
                การโอนย้ายข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ทั้งในรูปแบบของรูปภาพและประเภทไฟล์ข้อมูล มีลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลทั้งการดาวน์โหลด และการอัพโหลด ซึ่งสามารถจัดแบ่งประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลดออกเป็น 4 ประเภท คือ แชร์แวร์ เดโมแวร์ โปรแกรมรุ่นเบต้า และโปรแกรมฟรีโดยเมื่อต้องการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากเว็บไซต์ จะมีรายละเอียดเพื่อบอกถึงประเภทของโปรแกรม นอกจากนี้การดาวน์โหลดข้อมูลประเภทต่างๆ การอัพโหลดข้อมูลก็มีความสำคัญ ถ้าเราต้องการสร้างโฮมเพจของตนเอง ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบของการขอพื้นที่ฟรีในการสร้างโฮมเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ หรือการเช่าพื้นที่ในการสร้าง โฮมเพจจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็จะต้องใช้โปรแกรมช่วยในการอัพโหลดข้อมูล เช่น โปรแกรม WS-FTP

1. ลักษณะของการโอนย้ายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
                        การดาวน์โหลด  (Download)หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                การอัพโหลด  (Upload)หมายถึง การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไปเก็บไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับดาวน์โหลด

2. ประเภทของโปรแกรมที่ดาวน์โหลด
                แชร์แวร์ (shareware)
                 คือโปรแกรมที่ผู้เป็นเจ้าของแจกจ่ายให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในลักษณะของการทดลองใช้งาน และมักมีการจำกัดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานได้ ความสามารถที่ใช้งานได้ หรือ ระบบความสะดวกสบาย แชร์แวร์มักเปิดให้ดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ตผ่านทางหน้าเวป หรือ จากแผ่นซีดีที่แถมมากับนิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์จุดประสงค์ของโปรแกรมแชร์แวร์ก็เพื่อ ให้ผู้ซื้อได้ทดลองใช้ตัวโปรแกรม ก่อนตัดสินใจถึงความคุ้มค่าสำหรับการซื้อสิทธิ์โปรแกรมตัวเต็ม  แชร์แวร์มักจะแจกจ่ายในรูปของโปรแกรมทดลองใช้งาน ในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด ที่ความสามารถบางอย่างจะใช้งานได้ต้องมีการซื้อสิทธิ์ หรือซื้อตัวโปรแกรมตัวเต็มก่อนเท่านั้น เมื่อหมดระยะเวลาของการทดลองใช้งาน ตัวโปรแกรมอาจหยุดการทำงานจนกว่าจะมีการซื้อสิทธิ์ แชร์แวร์มักไม่การให้การช่วยเหลือ การอัปเดต หรือ เมนูช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดจะสามารถใช้งานได้ เมื่อมีการซื้อสิทธิ์ในโปรแกรมแล้ว คำที่ใช้บ่งบอกความเป็นโปรแกรมโดยมาก ได้แก่ "ทดลองฟรี"(free trial) หรือ "โปรแกรมทดลองใช้งาน"(trial version)
"แชร์แวร์"มักใช้ในความหมายที่แตกต่างจาก "โปรแกรมที่วางจำหน่าย"(retail software) ที่มักหมายถึงโปรแกรมเชิงพาณิชย์ ที่จะมีเฉพาะการจำหน่ายสิทธิ์ในตัวโปรแกรม ซึ่งจะไม่สามารถทำสำเนาให้คนอื่นได้ "โปรแกรมสาธารณะ"(public domain software)ที่หมายถึง โปรแกรมที่ไม่ถูกปกป้องด้วยสิทธิบัตร และ "ฟรีแวร์" ที่เป็นโปรแกรมที่ถูกปกป้องด้วยลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของไม่เรียกร้องค่าตอบแทน (ในบางครั้งเจ้าของโปรแกรมอาจขอรับบริจาคจากผู้ใช้งานแทน)
เดโมแวร์  ( Demoware)
คือ โปรแกรมรุ่นทดลองใช้ มีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมประเภท แชร์แวร์  แต่จะถูกจำกัดขอบเขตของการใช้งาน  ซึ่งโปรแกรมในรูปแบบเต็มอาจจะมีเมนูสำหรับการใช้งาน 5 เมนู แต่โปรแกรมเดโมเวร์นั้นอาจจะเปิดให้เราสามารถใช้งานเพียง 2 เมนู เป็นการใช้ทดลองใช้เพียงบางส่วนของโปรแกรม

โปรแกรมรุ่นเบต้า ( Beta Software )
                โปรแกรมรุ่นเบต้า ( Beta Software )  บางครั้งอาจจะเรียกว่า โปรแกรมรุ่น อัลฟา ( Alfa Software )ซึ่งโปรแกรมในรูปแบบนี้ จะเป็นโปรแกรมรุ่นที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ผู้ผลิตโปรแกรมมักจะนำโปรแกรมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นี้มาให้ทดลองใช้งาน และเมื่อมีปัญหาใดในการใช้งานก็ให้ผู้ใช้แจ้งไปยังผู้ผลิตเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

โปรแกรมฟรี  (Freeware)
                บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีโปรแกรมมากมายที่ให้บริการฟรี ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ หรือบางเว็บไซต์ก็จะเป็นตัวกลางที่ช่วยรวบรวมโปรแกรมฟรีเหล่านี้มาไว้ให้ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดได้ง่ายขึ้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้อาจจะมีคุณสมบัติในการทำงานได้ดีเช่นเดียวกับโปรแกรมที่มีการซื้อขายทั่วไป เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ  Linux เป็นต้น

3. ขั้นตอนของการดาวน์โหลด
      สามารถจัดแบ่งรูปแบบของการดาวน์โหลดข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การดาวน์โหลดประเภทไฟล์ข้อมูล
ไฟล์ข้อมูลประกอบด้วย ไฟล์โปรแกรม ไฟล์เกม และไฟล์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย
ตัวอย่าง  การดาวน์โหลดโปรแกรม Loy Dict.2005 จากเว็บไซต์ ww.kapook.com สามารถดำเนินการดาวน์โหลดได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
                        พิมพ์  ww.kapook.com ลงในช่อง Address
                        เลือกโปรแกรมที่ต้องการดาวน์โหลด
                        เมื่อค้นหาโปรแกรมที่ต้องการดาวน์โหลดได้เรียบร้อยแล้ว ภายในรายละเอียดของโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งของการดาวน์โหลดเพื่อให้ผู้ใช้คลิกเลือก และโปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดทันที
                        เมื่อคลิกที่ Download  จะแสดงหน้าต่าง File Download เพื่อให้เลือก ถ้าเราต้องการแค่เปิดข้อมูลขึ้นมาดูเท่านั้น ให้เลือก Open แต่ถ้าต้องการบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราด้วยให้เลือก Save
                        เมือคลิกเลือกที่ Save เพื่อบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สิ่งที่ต้องการกำหนดต่อไปคือ ตำแหน่งที่จะนำข้อมูลนี้ไปเก็บไว้ในช่อง Save in :
                        เริ่มทำการดาวน์โหลดข้อมูลมาเก็บไว้ในตำแหน่งที่กำหนดให้ โดยจะแสดงลักษณะสถานะของการดาวน์โหลดตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง ดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จที่หน้าต่าง File Download
                        เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกเลือกตรวจสอบ
          Open              :   เพื่อเปิดดูข้อมูล หรือโปรแกรมที่ได้ดาวน์โหลดไว้
          Open Folder  :   เพื่อเปิด Drive และโฟลเดอร์ที่จัดเก็บข้อมูล
          Close             :   ปิดหน้าต่างการดาวน์โหลด
                         เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานได้ในลำดับต่อไป

            2. การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพ
            การดาวน์โหลดประเภทรูปภาพสามารถทำได้หลายกรณี เช่น บันทึกเป็นไฟล์ชนิดรูปภาพบันทึกเป็นภาพ Background บันทึกเป็นภาพ Desktop เป็นต้น

4. การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรม Winzip
บางครั้งไฟล์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ตนั้นมีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กก่อน เพื่อที่จะทำให้การดาวน์โหลดทำได้รวดเร็วขึ้น เราสามารถสังเกตได้ว่าไฟล์ใดใช้วิธีบีบอัดข้อมูลมา โดยดูได้จากนามสกุลของไฟล์นั้น จะมีนามสกุล . zip เมื่อดาวน์โหลดข้อมูลมาแล้วต้องทำการขยายไฟล์ข้อมูลก่อนจึงจะสามารถอ่านข้อมูล หรือนำไปใช้งานได้ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการขยายไฟล์ คือ โปรแกรม Winzip
        โปรแกรม Winzip จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Winzip จะช่วยอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงาน โดยเพียงแต่ตอบคำถามทีละขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดเท่านั้น
2. Classic แบบนี้ผู้ใช้โปรแกรมจะเป็นคนกำหนดทั้งหมดตามความต้องการใช้งาน

การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ
         การขอพื้นที่สร้างโฮมเพจ สามารถขอได้จากเว็บไซต์หลากหลายที่ให้บริการ ซึ่งเมื่อได้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์เพื่อสร้างโฮมเพจแล้ว จะได้รับพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเมื่อเราได้สร้างโฮมเพจของเราเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะทำการอัพโหลด โฮมเพจไปไว้ยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทันที

การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรม WS-FTP
          โปรแกรม  WS-FTP จะช่วยให้เราสามารถอัพโหลด ( Upload ) ข้อมูลไปยังระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงได้ทำการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน  ดังต่อไปนี้

การติดตั้งโปรแกรม WS-FTP
1. คลิกเลือกเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม WS-FTP
2. เตรียมการติดตั้งโปรแกรม
3. คลิก Next เพื่อเริ่มติดตั้งโปรแกรม
4. แสดงหน้าต่างของข้อตกลง ให้คลิกเลือก I accept เพื่อยอมรับในเงื่อนไขและคลิกที่ Next
5. กำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บโปรแกรมให้คลิกที่ Next
6. กำหนดชื่อของโฟลเดอร์ที่จะเก็บโปรแกรมให้คลิกที่ Next
7. แสดงหน้าต่าง Start Copying Files คลิกที่ Next
8. แสดงสถานะของการติดตั้งโปรแกรม
9. คลิกที่ Finish เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม
การใช้งานโปรแกรม WS-FTP
        เมื่อติดตั้งโปรแกรม WS-FTP เรียบร้อยแล้ว จะต้องกำหนดค่าเพื่อใช้งานในโปรแกรม โดยสามารถที่จะปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี้
1. ปรากฏหน้าจอ Welcome คลิกที่ Next
2. ปรากฏหน้าจอ Site Name สำหรับกำหนดชื่อของ Site เพื่อไว้จัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่อัพโหลดไปยังเครื่องแม่ข่าย ( Server )  เช่นเดียวกับการกำหนดโฟลเดอร์ไว้ที่เครื่องแม่ข่าย  เช่น kulrapee  แล้วคลิกที่ Next
3. ขั้นต่อมาจะปรากฏหน้าจอ Server Address เพื่อกำหนดหมายเลข IP Address ของเครื่องแม่ข่ายที่เราต้องการจะนำข้อมูลไปอัพโหลดไว้ เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ Next
4. User Name และ Password จะต้องถูกกำหนดเมื่อเราได้ขอพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์กับเว็บไซต์ที่ให้บริการ หรือผู้บริการด้านอินเตอร์เน็ต (ISP) ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการเช่าพื้นที่ หรือการขอพื้นที่ฟรีก็ตาม
5. Connection Type จะต้องกำหนดรูปแบบของการติดต่อให้เลือก FTP แล้วคลิกที่ Next
6. Finish จะแสดงรายละเอียดสำหรับการติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย ( Server ) รวมทั้ง User Name และ Password ทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนข้างต้น แล้วคลิกที่ Finish

การอัพโหลดข้อมูล (Upload)
        หลังจากที่ได้ขอพื้นที่ในการเก็บโฮมเพจของเราผ่านทางเว็บไซต์ www.thcity.com ต่อมาก็ได้ทำการติดตั้งโปรแกรม WS-FTP รวมทั้งการกำหนดค่าเพื่อใช้งานโปรแกรม WS-FTP และขั้นตอนต่อไปคือ การอัพโหลด (Upload) ข้อมูลของโฮมเพจผ่านทางเว็บไซต์ที่ขอใช้บริการ สามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกที่สัญลักษณ์ของโปรแกรม WS-FTP ที่หน้าจอ Desktop
2. จะปรากฏหน้าต่างแรก คือ Tip of the Day ถ้าเราการที่จะอ่านต่อไป ให้เลือก Next Tip แต่ถ้าไม่ต้องการให้เลือก Close
3. ลำดับต่อมาจะปรากฏหน้าต่างของการอัพโหลด (Upload) ข้อมูล ซึ่งจะสังเกตได้ว่าข้อมูลที่ปรากฏในช่อง Address, User ID, Password จะปรากฏให้เราโดยอัตโนมัติ
4. จะปรากฏ Site Manager ที่ได้ตั้งไว้แล้ว ให้คลิกที่ชื่อของ Sites          Connect
5. ด้านขวามือจะปรากฏชื่อของ Site ที่ได้เลือกในการติดต่อเพื่อรอรับข้อมูลที่เราจะอัพโหลด (Upload) จากด้านซ้ายมือโดยใช้วิธีคลิกที่ลูกศรซึ่งอยู่ตรงกลางทั้งสองฝั่ง เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการอัพโหลดข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้เครื่องแม่ข่ายที่เราได้ขอพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลไว้
6. เมื่อคลิกที่ Connect จะสามารถเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าต่าง ๆ คือ
           Connection Wizard     :   การกำหนดค่าเพื่อใช้งานโปรแกรม WS-FTP
           Site Manager               :   กำหนด Site สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในฝั่งเครื่องแม่ข่าย
7. หรือเมื่อคลิกที่ Connection Wizard เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าสำหรับการใช้งานในโปรแกรม   WS-FTP
5.การใช้เสริชเอนจิ้น


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556




เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล ( Google ) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%

นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่

- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน

 ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine
 1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
 2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
 3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
 4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
 5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย

 พื้นฐานการใช้งาน Search
1 พื้นฐานการใช้งาน Search
ส่วน ค้นหาข้อมูล (Search)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล  สำหรับผู้ใช้ที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการทราบข้อมูล เกี่ยวข้องกับเรื่องใด  แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในส่วนใด  และไม่ต้องการเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจหรือเว็บไซต์จำนวนมาก  ซึ่งในบางครั้งก็ยังไม่พบข้อมูลอีกด้วย  โดยโปรแกรมค้นหาข้อมูลจะจัดกลุ่มขอ้มูลที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ป้อน  แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นรายการผลการค้นหา (Search Engine Results Pages : SERP)  ออกมาให้ผู้ใช้เลือกเข้าไปชมข้อมูลตามที่ต้องการ  แสดงได้ดังรูปที่ 1
รูปที่1.1   แสดงหน้าเว็บของ Search Engine เช่น www.google.com  เพื่อใช้ป้อน Keyword
รูปที่ 1.1   แสดงหน้าเว็บรายการผลการค้นหาของ www.google.com
โดย ทั่วไป  หากกล่าวถึงเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) แล้ว  ผู้อ่านคงจะนึกถึง Search Engine เช่น Google, Yahoo หรือ MSN เท่านั้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว Search Engine ยังสามารถจำแนกตามวิธีการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ออกเป็น 2 ประเภท  ดังนี้
Internal Search Engine
หรือ “Site Search” เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายในไซต์นั้นโดยเฉพาะ  ยกตัวอย่างเช่น  E-Bay ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าจากทั่วทุกมุมโลก  ผู้ชมสามารถค้นหารายการสินค้าโดยพิมพ์ Keyword ที่ต้องการลงในช่องป้อนข้อมูล  เช่น  ต้องการค้นหาต่างหูก็พิมพ์คำว่า “earring” เมื่อกดปุ่ม  Search  โปรแกรมจะประมวลผลรายการคำศัพท์จากดัชนีคำศัพท์ในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำว่า “earring” ออกมาแสดงผล  ดังรูปที่ 1.2
หมายเหตุ   Internal Search Engine  มักจะนำมาใช้งานกรณีที่เป็นเว็บไซต์เสนอขายสินค้า  และมีรายการสินค้าแยกย่อยหลายชนิดจนไม่สามารถแสดงผลให้อยู่ในเว็บเพจเพียง หน้าเดียวได้  ยกตัวอย่างเช่น  นาฬิกาข้อมือที่มีหลายยี่ห้อ (Brand Name) และแต่ละยี่ห้อก็ยังจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆ อีก  ลักษณะเช่นนี้สามารถสร้าง Search Engine ภายในหน้าเว็บให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูล  อาจเป็นชื่อยี่ห้อหรือรุ่นโดยเฉพาะเพื่อจำกัดกลุ่มรายการสินค้าที่ต้องการ ค้นหาได้
รูปที่ 1.2  ตัวอย่าง Internal Search Engine บนหน้าเว็บ www.ebay.com
External Search Engine
หรือ “Web Search”  เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่อยู่ภายนอกเว็บไซต์  หรือเป็นเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะซึ่งสามารถจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหา ออกเป็นประเภทต่างๆ  เช่น  ค้นหาเว็บ  รูปภาพ  หรือข่าวสาร  เป็นต้น External Search Engine  จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับ Internal Search Engine แต่ต่างกันตรงที่ฐานข้อมูลที่ใช้จัดเก็บดัชนีเพื่อตรวจสอบกับ Keyword จะมีขนาดใหญ่กว่า  เนื่องจากฐานข้อมูลนอกจากจะใช้จัดเก็บดัชนีคำศัพท์แล้ว  จะต้องเก็บชื่อ URL หรือตำแหน่งที่จัดเก็บเพจนั้นไว้ด้วย  เมื่อผู้ชมป้อน Keyword เข้ามา  โปรแกรมจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความเชื่อมโยงพร้อมทั้ง URL  ของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยงไปถึง  ดังรูปที่ 1.3  สำหรับ External Search Engine ที่ผู้อ่านรู้จักกันเป็นอย่างดี  ได้แก่ Google, Yahoo และ MSN Search
รูปที่ 1.3  ตัวอย่าง External Search Engine บนหน้าเว็บ www.msn.com
สำหรับ หน้า SERP ของ Search Engine ทั้ง 2 ประเภท  จะประกอบด้วย  รายงานผลสรุปของจำนวนข้อมูลที่ค้นหาได้  และรายการเชื่อมโยงที่ค้นหาได้ทั้งหมด (กรณีที่มีข้อมูลจำนวนมาก) เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป  แต่หากเป็น SERP ของ External Search Engine จะแสดง URL ที่ข้อความเชื่อมโยงถึงด้วย  เพราะเป็นการค้นหาภายนอกไซต์  ส่วน Internal Search Engine เป็นการค้นหาภายในไซต์จึงไม่จำเป็นต้องแสดง URL
นอก จากนี้หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Search Engine ทั้งสองประเภทแล้ว  จะพบว่า External Search Engine สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ประสบความสำเร็จมากกว่า  ด้วยคุณสมบัติความง่ายในการเรียนรู้และง่ายต่อการใช้งานนั่นเอง  ผู้อ่านลองสังเกตว่า External Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก  เช่น Google จะไม่เน้นการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟส (Interface) ให้มีความสวยงามหรือมีภาพกราฟฟิกมากนัก  แต่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย  ดังนั้นหน้าเว็บจึงประกอบด้วยเครื่องมือที่จำเป็นต่อการค้นหาข้อมูลเท่า นั้น  เช่น  ช่องป้อนข้อมูล  ปุ่มกดค้นหา  และตังเลือกประเภทการค้นหา  เป็นต้น  ดังรูปที่ 1.4  การจัดวางองค์ประกอบของเครื่องมือเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน  จะทำให้ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือแต่ละตัวมาก นัก
รูปที่ 1.4   แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.google.com
รูปที่ 1.4   แสดงการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสกับผู้ใช้ของ www.a9.com
ใน ขณะที่การออกแบบ Internal Search Engine จะเป็นการออกแบบตามสไตล์ของนักพัฒนาเว็บแต่ละคน  ดังนั้นรูปแบบอินเตอร์เฟส  ตำแหน่งการจัดวาง  และวิธีการใช้งานเครื่องมือจึงแตกต่างกันไป  ซึ่งส่วนอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนไปของแต่ละเว็บไซต์  ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาค้นหา (เมื่อตำแหน่งการจัดวางเปลี่ยนไป)  และเสียเวลาเรียนรู้องค์ประกอบนั้น (เมื่อมีทางเลือกในการค้นหาเพิ่มเติม)  เนื่องจากผู้ใช้มักคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสของ External Search Engine  และคาดหวังว่าส่วนค้นหาข้อมูลแบบ Internal Search Engine ก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
รูปที่ 1.5   แสดงตัวอย่างการจัดวางตำแหน่งและรูปแบบอินเตอร์เฟสของเว็บwww.amway.com
รูป ที่ 1.5   แสดงตัวอย่างรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine ซึ่งมีการสร้างเครื่องมือกำหนดขอบเขตในการค้นหาบนหน้า เว็บwww.platinumpda.com
ดังนั้นหลักการออกแบบ Internal Search Engine ที่ดี  สิ่งสำคัญประการแรก  คือ  ต้องมีลักษณะอินเตอร์เฟสตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้  นั่นคือ  ต้องสอดคล้องกับส่วนอินเตอร์เฟสของ External Search Engine ยกตัวอย่างเช่น  ประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูล  ปุ่มกดค้นหา  ป้ายคำอธิบาย  รวมถึงตำแหน่งการจัดวางด้วย  ซึ่งการออกแบบส่วนประกอบดังกล่าวจะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น